วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ความหมายของ การปลูกผักไฮโดร Hydroponics
ผักไฮโดรโปรนิกส์ คืออะไร
ผักไฮโดรโปรนิกส์ คือ การปลูกผักโดยไมใช้ดิน หมายถึง การปลูกผักที่เลียนแบบการปลูกบนดิน โดยการปลูกพืชลงบนวัสดุปลูกหรือไม่ต้องมีวัสดุปลูกก็ได้ เพื่อให้พืชได้รับสารอาหารหรือสารละลายธาตุอาหารพืช (ที่มีน้ำที่ผสมกับปุ๋ยที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการจากทางรากพืช) อันเป็นการปลูกพืชที่เกี่ยวข้องกับการจัดการใน "การผลิตพืชในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อม ( Controlled Environment Agricultural Production )" ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ( Growth and Development ) และสิ่งแวดล้อม ( )Environment ) คุณจึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตแบบ ไฮโดรโปรนิกส์ จะสด สะอาด ปราศจากสารพิษทั้งจากดินและยาฆ่าแมลง จึงบริโภคได้อย่างปลอดภัย
เทคนิคในการปลูกผักไฮโดร
การปลูกพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์ หลายๆท่านคงพอรู้จักกันบ้างแล้ว จุดเด่นของระบบการปลูกแบบนี้มีทั้งในด้าน มาตรฐาน, ปริมาณ และคุณภาพ ของผลลิต ในส่วนของมาตรฐานนั้นดีแน่นอนเนื่องจากเราสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดีไปปลูก ได้ ด้านปริมาณเราก็สามารถผลิตได้มากเนื่องจากใช้เวลาปลูกน้อยกว่าการปลูกในดิน จำนวนรอบการผลิตรวมต่อปีจะมากขึ้นถ้าเทียบในระยะเวลาที่เท่ากัน
เครื่องวัดค่า PHและอุณหภูมิ สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
รายละเอียดมิเตอร์วัดความเป็นกรด-ด่าง PH869-0 ระบบ Digital แสดงค่ากรด-ด่าง และอุณหภูมิพร้อมกัน, ค่าความแม่นยำสูงที่สุดโดยมีค่า Accuracy เพียง +/-0.02pH, สามารถ Calibrate ง่ายดายด้วยระบบ 1-Touch Auto หรือจะ Calibrate เองด้วยระบบ manual ก็สามารถทำได้, แถมฟรี! Buffer Solutions และสามารถถอดเปลี่ยนหัว Electrode ได้ ต้องการซื้อหัว Electrode สำรอง เพียงเพิ่มเงิน 590.- PH869-0 ออกแบบมาให้เป็นมิเตอร์สำหรับมืออาชีพ ช่วงค่าการวัดกรด-ด่างตั้งแต่ 0 - 14 Sensor มีความไว และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
- professional pH meter with very high accuracy
- all push button operation, automatic or manual calibration.
- IP67 - 100% waterproof & dustproof. Totally protected against dust and effects of immersion up to 1m - replaceable pH electrode.
- dual display (pH & temp) & switchable C & F.
- automatic temperature compensation (ATC).
- Out-of-Range indicator.
- data hold. Freezes the reading for comfortable recording of results
- easy battery replacement & low battery indicator.
- auto power off. Specifications: - IP Grade: IP67
- ช่วงค่าการวัด: 0.00~14.00PH
- ความละเอียด: 0.01pH
- ความแม่นยำ: +/-0.02pH
- Temperature compensation: 0~50 องศาC
- Temp. compensation accuracy: +/-0.3 องศาC - อุณหภูมิภายใต้การใช้งาน: 0~50 องศาC (32~122 องศาF)
- ควรเก็บอุปกรณ์ภายใต้อุณหภูมิ: 0~50 องศาC
- ความชื้นภายใต้การใช้งาน: 0-80%RH - Auto power off: 20 minutes idle
- Input impedance: 10 ohms - Display: 4 digit - Data Hold, Max. Value, Min. Value, Record
- Low battery indicator, Over range indicator, Calibration indicator
- Sleep mode that can be disable
- Power Supply: 2 x (CR2032) button cell battery
- ขนาด (H xWxT): 149 x 37 x 42 มม. สนใจดูข้อมูล หรือสินค้าอื่น ๆ เช่น ในดิน
- มิเตอร์วัดความชื้น กรด-ด่าง(PH) ความสมบูรณ์ของดิน ในน้ำ
- มิเตอร์วัดค่า PPM / EC / CF / TDS / PH / ORP / Hardness / Salinity / Chlorine ในอากาศ
- มิเตอร์วัดค่าความชื้น, อุณหภูมิในอากาศ, Dew Point มิเตอร์อื่น ๆ
- มิเตอร์วัดความชื้นในเมล็ดพืชผลทางการเกษตร, มิเตอร์วัดปริมาณน้ำตาล แอลกอฮอล์ น้ำผึ้ง, มิเตอร์วัดความชื้นในวัสดุ, มิเตอร์วัดระยะทาง, มิเตอร์วัดค่าแสงสว่าง
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
1. ทำการเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการปลูก ลงบนฟองน้ำที่จัดเตรียมไว้
2. นำถาดที่ใช้สำหรับเพาะไปเรียงซ้อนกัน คลุมผ้า รดน้ำ เช้าเย็น ใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
3. เมล็ดงอกได้ประมาณ 80 % นำไปลอยในโรงเรือนอนุบาลต้นกล้าอีก 3 วัน รดน้ำเช้า-เย็น
4. ย้ายต้นกล้าลงไปปลูกในระบบ DRFT
5. เติมปุ๋ยตามระบบเวลาที่กำหนดไว้
6. เมื่อผักโตได้คุณภาพ ตามมาตรฐานของฟาร์มแล้ว จึงทำการเก็บเกี่ยว
วิธีการปลูกผักไฮโดร Hydroponics
1. หลังจากได้ต้นกล้าที่เพาะไว้แล้ว ให้นำต้นกล้าย้ายลงรางปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว ล้างถังที่จะใส่สารละลายธาตุอาหารให้สะอาด เติมน้ำสะอาดประมาณ 3/4 ของถัง
2. ใส่สารละลายธาตุอาหารลงในน้ำสะอาดที่ได้เตรียมไว้ โดยให้ใส่ธาตุอาหาร Aและ B ในอัตราส่วนอย่างละ 3 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ต่อไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องปั๊มน้ำให้น้ำไหลผ่านรางปลูก พร้อมกับทำการตรวจสอบระบบว่ามีที่ชำรุดรั่วไหลหรือไม่
4. ต้องเปลี่ยนน้ำทุก 10 วัน โดยถังน้ำควรมีฝาปิดเพื่อรักษาความสะอาดของน้ำ และป้องกันฝนที่จะทำให้สารละลายธาตุอาหารเจือจาง
5. ประมาณ 6 สัปดาห์ (40 – 45 วัน) ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้
วิธีการเพาะเมล็ด ผัก Hydro
วิธีการเพาะเมล็ด
1. ใส่วัสดุปลูก (Perlite) ลงในถ้วยเพาะประมาณ 3/4 ของถ้วย วางเมล็ดพันธุ์ลงบนวัสดุปลูก กลบเมล็ดเล็กน้อย ใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้ชุ่มเติมน้ำที่ถาดรองเพาะให้สูงประมาณ 0.5 ซม. (ใช้น้ำธรรมดาที่ยังไม่ได้เติมสารละลายธาตุอาหาร)
2. หมั่นคอยตรวจดูระดับน้ำในถาดรองเพาะ ต้องให้มีน้ำสูง 0.5 ซ.ม.เสมอ
3. ระยะเวลา 3 วันแรก ให้เก็บถาดเพาะไว้ในที่ร่ม หลังจากนั้นนำออกมารับแสงแดดรำไร และเมื่อสังเกตว่ามีมากกว่า 3 - 4 ใบ จึงจะนำไปรับแสงแดดได้
4. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 1 สัปดาห์ เติมน้ำที่ผสมธาตุอาหารแล้วลงไปให้สูง 1 ซ.ม. หมั่นตรวจสอบระดับน้ำให้มีอยู่เสมอ
5. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 2 สัปดาห์ สามารถย้ายลงรางปลูกได้
ค่า EC คืออะไร
EC ย่อมาจากคำว่า Electric Conductivity
หมายถึง ค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ(ในไฮโดรโพนิกส์จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหาร)ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อนำธาตุอาหารละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำ แต่การวัดค่า EC นั้นเป็นเพียงการวัดค่าโดยรวมไม่สามารถแยกบอกความเข้มข้นของเกลือแต่ละตัวได้ เช่น ถ้านำธาตุอาหาร A หรือ Bมาละลายในน้ำ เกลือของธาตุต่างๆ เช่น N,P,K ฯลฯ ก็จะละลายรวมกันอยู่ โดยที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า มีธาตุอาหารแต่ละตัวอยู่เท่าไหร่ ตัวอย่างเช่นในน้ำมีเกลือ N+P+K ละลายรวมกันอยู่ และวัดค่า EC ได้ = 2.0 mS/cm เราไม่สามารถทราบได้ว่ามี N,P,K อยู่อย่างละเท่าใด ทราบเพียงแต่ว่ามีอยู่รวมกัน มีค่า = 2.0mS/cm ซึ่งค่า EC ที่วัดได้นี้จะนำไปใช้กับพืชที่เราจะทำการปลูก และควรรักษาระดับค่า EC ให้คงที่ และปรับค่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ในสารละลายมีธาตุอาหารที่พืชสามารถจะนำไปใช้ได้ตลอดเวลาและพอเพียง โดยส่วนมากค่าที่ใช้วัดสำหรับการปลูกพืชจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.5-5.0 mS/cm โดยพืชแต่ละชนิดก็จะใช้ค่า EC ที่แตกต่างกันออกไป เครื่อง EC Meter เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากและควรมีไว้ใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำ และตรวจสอบความถูกต้องของการละลายธาตุอาหารในระบบน้ำที่ใช้ในการปลูก เครื่อง EC Meter นั้นมีหน่วยการวัดค่าหลายหน่วยดังนั้น การเลือกซื้อเครื่องมือต้องดูให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ โดยทั่วไประบบไฮโดรโพนิกส์ ควรเลือกเครื่องมือที่วัดได้ในช่วง 0 – 10 mS/cm ซึ่งน่าจะเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่สามารถเลือกช่วงการวัดได้หลายช่วงในเครื่องเดียว เช่น เลือกได้จากช่วง 0 – 10 mS/cm, 0 - 20 mS/cm , 0-100 mS/cm ซึ่งราคาจะแพงและเป็นช่วงการวัดที่เราไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ 10-100 mS/cm นอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ขายถึงวิธีการใช้งานและการดูแลรักษา และสิ่งที่สำคัญในการใช้เครื่องมือคือต้องมีการตรวจสอบค่าที่วัดได้จากเครื่องมือว่าถูกต้องหรือไม่อยู่เสมอๆ โดยใช้เครื่องมือวัดวัดค่าสารละลายที่เราทราบค่า EC ที่แน่นอนและอ่านค่าจากเครื่องมือถ้าค่าไม่ตรงกันต้องทำการตั้งค่าที่เครื่องมือให้ถูกต้องซึ่งวิธีการปรับค่าจะมีแนบมากับเครื่องมือที่ซื้อมา หรือสามารถขอจากผู้ขายได้โดยตรง
น้ำกับการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์
น้ำกับการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์
น้ำนั้นมีความสำคัญมากในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นในระบบ NFT, DFT, Aeroponics การปลูกในวัสดุปลูก หรือระบบอื่นๆที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายธาตุอาหาร ซึ่งรากพืชต้องดูดไปใช้ ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้าน้ำมีคุณภาพดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในน้ำก็จะละลายได้หมด พืชก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปก็จะละลายไม่หมด เกิดการตกตะกอน พืชก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ ทำให้พืชเกิดอาการขาดธาตุอาหาร เช่นใบเหลือง แคระแกร็น เป็นต้น น้ำจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งเราควรพิจารณาเป็นลำดับแรกๆ ก่อนคิดลงทุนเพื่อปลูกเป็นระบบการค้า คำถามที่ตามมาก็คือ แล้ว ควรใช้น้ำอะไรในการปลูกดี ซึ่งแหล่งของน้ำที่จะนำมาใช้นั้นมีหลายประเภท ได้แก่
น้ำฝน จัดว่าเป็นน้ำที่ดีที่สุด มีค่า EC ต่ำ สิ่งเจือปนน้อย ที่สำคัญมีต้นทุนต่ำ โดยปกติน้ำฝนตามธรรมชาติจะมีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากการละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แต่ทว่าในเขตอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเสียออกมา จะทำให้เกิดสภาวะฝนกรด น้ำฝนที่เก็บได้จะมีค่า pH ต่ำลง ดังนั้นถ้าจะใช้พื้นที่ปลูกอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ควรพิจารณาถึงส่วนนี้ด้วย รวมถึงอุปกรณ์ที่จะกักเก็บน้ำฝน ควรปิดมิดชิดพอสมควรเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเชื้อโรคต่างๆ
น้ำประปา จัดว่าเป็นน้ำที่หาได้ง่าย ต้นทุนไม่สูงมากนัก โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพ น้ำประปามีคุณภาพค่อนข้างดี สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่สำหรับในเขตต่างจังหวัด น้ำบางที่ก็มีคุณภาพดี บางที่คุณภาพไม่ดี ควรลองตรวจสอบค่าก่อนนำไปใช้
น้ำตก น้ำจากเขื่อน น้ำในแม่น้ำ น้ำคลอง แหล่งน้ำเหล่านี้ มักมีสารแขวนลอยสูง และคุณสมบัติของน้ำไม่คงที่ตลอดปี รวมถึงอาจมีเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับน้ำ จึงไม่ค่อยเหมาะสมในการนำมาใช้ แต่อาจตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนก็ได้เพื่อความไม่ประมาท
น้ำบาดาล จัดเป็นแหล่งน้ำที่มีต้นทุนต่ำเช่นกัน การจะนำน้ำบาดาลมาใช้นั้นควรดูว่าในพื้นที่ของเรา มีน้ำหรือไม่ และสามารถขุดเจาะบาดาลได้หรือไม่ ในบางพื้นที่ไม่อนุญาติให้ขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ แล้ว เพราะผิดกฎหมาย จึงควรตรวจสอบกับหน่วยงานของรัฐก่อน สำหรับคุณภาพน้ำบาดาลในแต่ละที่นั้นบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี ต้องเก็บตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ แต่เราอาจสอบถามได้จากบริษัทที่รับขุดเจาะบาดาล หรือเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อบาดาลในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงมาตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน บางคนบอกว่าน้ำบาดาลมักมีสิ่งเจือปนสูงมาก โดยเฉพาะ สนิมเหล็ก หรือ โซเดียม ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช จริงๆแล้วเป็นเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ใช่ทั้งหมด เราเคยพบว่าน้ำบาดาลบางแห่งมีคุณภาพดีมาก ดีกว่าน้ำประปา ก็มี บางแห่งคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำฝน ก็มี ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ดังนั้นถ้าจะเลือกใช้น้ำบาดาลควรตรวจอบคุณภาพก่อนจะดีที่สุด
เมล็ดพันธุ์ผักไฮโดร Hydro Seed
เมล็ดพันธุ์ผักไฮโดรโปนิกส์ แยกเป็น 2 ประเภท
1. เมล็ดแบบไม่เคลือบ (Raw seed) เมล็ดประเภทนี้จะผ่านการลดความชื้น และทำความสะอาดมาแล้ว ในบางครั้งเมล็ดแบบนี้จะมีการคลุกสารเพื่อช่วย ให้มีความต้านทานต่อเชื้อโรคในระยะแรกของการ งอกเป็นต้นกล้า ถ้าเลือกใช้เมล็ดแบบนี้ก็ควรถามผู้ขายดูด้วยครับว่ามี การคลุกสารป้องกันเชื้อโรคมาให้ด้วยหรือไม่ ถ้ามี หลังจากที่เราเพาะเมล็ดเสร็จแล้วก็ควรล้างมือให้ สะอาดด้วย(ครับ) เมล็ดประเภทนี้อายุเก็บรักษาจะนานกว่าเมล็ดแบบเคลือบ แต่% ความงอกของเมล็ดจะค่อยๆลดลงเมื่อเวลาผ่านไป
2. เมล็ดแบบเคลือบ จะมี 2 ลักษณะ(ครับ) คือ เมล็ดเคลือบแป้ง เราเรียก Pelleted seed เก็บได้นาน 1-3 ปี(ครับ) ส่วนมากจะเป็นพวกเมล็ดไม้ดอก สำหรับเมล็ดผักสลัดที่เราปลูกอยู่ถ้าเป็นเมล็ดแบบเคลือบ จะเรียกว่า Primed seed ซึ่งเมล็ดจะถูกกระตุ้นให้เกิดการงอกก่อน แล้วจึงนำมาทำการเคลือบแป้ง (Pelleted seed) อีกที(ครับ) ซึ่งจากการที่กระตุ้นให้เมล็ดงอกก่อน ทำให้เมล็ดพันธุ์แบบนี้มีอายุการเก็บรักษาสั้น ซึ่งถ้าเลือกซื้อมาใช้ควรใช้ให้หมดโดยเร็ว ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป(ครับ) สำหรับข้อดีของการใช้เมล็ดแบบเคลือบก็คือ สะดวกในการเพาะอัตราการงอกสม่ำเสมอ และ % ความงอกสูง ( ครับ) แต่ราคาก็จะสูงกว่าเมล็ดแบบไม่เคลือบครับ
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
กรีนคอส (Green Cos)
ฟิลเล่ซ์ไอส์เบิร์ก (Frillice Iceberg)
ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก ใบมีสีเขียว
ทรงพุ่มใหญ่สวยงาม ขอบใบหยัก
ห่อคล้ายลูกกลม คล้ายกะหล่ำปลีหัว กาบใบห่อเข้าหากันเป็นชั้น ๆ ห่อหัว
เมื่ออากาศเย็นปลายใบหยิกเป็นฝอย ใบแข็งกรอบ ฉ่ำน้ำ
รสชาดหวานกรอบ
คุณค่าทางโภชนาการ
ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ป้องกันโรคหวัด เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เรดคอรัล (Red Coral)
บัตเตอร์เฮด (Butter Head)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa L.
ลักษณะทั่วไป ผักกาดหอม บัตเตอร์เฮด ใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อมกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบหลวมๆ
รสชาดหวานกรอบ ไม่ขม ทำอาหารได้หลายชนิด
ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
บัตเตอร์เฮด เป็นพืชผักที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด รับประทานเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกต่างๆ ห่อเมี่ยงคำ เนื้อย่าง และยำต่างๆ หรือนำมตกแต่งในจานอาหาร
บัตเตอร์เฮด มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรค โลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
เรดโอ๊ค (Red Oak)
กรีนโอ๊ค (green oak)
Green oak [กรีน-โอค]
ราคาผักไฮโดรโปนิกส์ โดยประมาณ
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
1. การเตรียมพื้นที่และโต๊ะปลูก ประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประกอบชุดไฮโดรโปนิกส์ และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน
2. พันธุ์และเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิดคือ
2.1 เคลือบดินเหนียว เนื่องจากเมล็ดผักมีขนาดเล็ก ทำให้เป็นอันตรายและสูญเสียได้ง่าย จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว เมล็ดที่เคลือบจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้ว แต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน
2.2 ไม่เคลือบ คือเมล็ดพันธุ์ปกติ* ลักษณะพันธุ์ผักสลัด
* การนำผักไฮโดรโปนิกส์มาปรุงอาหาร -->
3. การเพาะต้นกล้า นำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย รดน้ำทุกวัน ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดเริ่มงอก และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ
4. การปลูกบนราง ขนาด 1.5 เมตร
4.1 ตัวอย่างเติมน้ำ 10 ลิตร และเติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 100 ซีซี หรือ 10 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
4.2 นำต้นกล้าที่แข็งแรง อายุประมาณ 2 สัปดาห์ ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก และเดินเครื่องปั๊มน้ำ
5. การดูแลประจำวัน
5.1 รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ เช่น 10 ลิตร
5.2 ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8 โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ดังตาราง
5.3 ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริก หรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด
6. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน
ความเป็นมาของผักไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทย
ผักไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในราวต้นปี 2543 และเริ่มมีการเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวางแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดมากนัก จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่ปี 2545 รัฐบาลเริ่มให้ความสนใจต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและได้มีการกระจายข่าวตามสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งประชาชนเริ่มให้ความสนใจต่อสุขภาพและเริ่มรู้จักผักไฮโดรโปนิกส์มากขึ้น ทำให้ตลาดไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)
การปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการปลูกพืชโดยใช้หลักวิชาการแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดยการเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน แต่ไม่นำดินมาใช้เป็นวัสดุปลูก พืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยอาศัยธาตุอาหารต่างๆ ที่ละลายลงในน้ำเพื่อทดแทนธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น 1. สามารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องตลอดปี เมื่อเก็บผลผลิตผักแล้วสามารถปลูกพืชผักรุ่นต่อไปได้ทันที เนื่องจากไม่ได้ปลูกพืชลงดินจึงไม่ต้องทิ้งระยะเวลาเพื่อทำการพักดิน ตากดิน กำจัดวัชพืช และเตรียมแปลงปลูกใหม่ การปลูกพืชในดินต่อเนื่องเป็นเวลานานยังทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถปลูกพืชต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหานี้ เนื่องจากแหล่งอาหารของพืชไม่ได้มาจากดิน แต่มาจากธาตุอาหารต่างๆ ที่ให้ทางสารละลายธาตุอาหาร นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ไม่ขึ้นกับฤดูกาล เพราะมีการควบคุมสภาพแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี 2. สามารถปลูกพืชได้แม้ในที่ที่ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช การอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งที่ดินมีราคาแพง ผู้อยู่อาศัยในที่ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด และหอพัก ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช สามารถปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพร หรือไม้ดอกไม้ประดับ ได้โดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กวางบริเวณพื้นที่ว่างที่มีอยู่เล็กน้อย เช่น ริมหน้าต่าง ทางเดิน ดาดฟ้า พื้นที่เล็กๆ หลังบ้าน 3. สามารถปลูกพืชในที่ที่ดินไม่เหมาะสม ในบางพื้นที่มีพื้นที่อยู่มากมาย แต่ใช้ทำการเพาะปลูกพืชไม่ได้ เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินทะเลทราย พื้นที่ที่เป็นหิน พื้นที่ภูเขา ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง พื้นที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำชลประทาน การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และใช้งบประมาณมาก สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่ปลูกพืชได้ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เพราะนอกจากไม่ต้องใช้ดินเป็นแหล่งอาหารสำหรับพืชแล้ว ยังเป็นวิธีที่ใช้น้ำน้อยและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชไม่มีปัญหาขาดน้ำ ไม่มีการสูญเสียน้ำจากการซึมลึก การไหลทิ้ง หรือการแย่งน้ำจากวัชพืช ไม่มีปัญหาการให้น้ำมากเกินไป 4. พืชเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูง การปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม ไม่สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชได้ นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียธาตุอาหารจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในดินและในอากาศ ตลอดจนการแย่งธาตุอาหารจากวัชพืช แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ สามารถควบคุมปริมาณสารอาหารได้ดีกว่าการปลูกในดิน สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้ตรงกับความต้องการของพืช พืชได้รับสารอาหารในรูปอนินทรีย์โดยตรง ทำให้การใช้ปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาการแย่งธาตุอาหารโดยวัชพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตเร็วและได้ผลผลิตสูง ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าคำนึงถึงผลผลิตต่อปี ผลผลิตจากการผลิตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ก็จะสูงกว่าการปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องจากการเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นและปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปีไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถปลูกพืชได้มากครั้งกว่าในเวลาเท่ากัน 5. ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ สะอาดและคุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารตามที่พืชต้องการตลอดจนควบคุมปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมได้ทั่วถึง ทำให้ได้ผลผลิตที่มีความสม่ำเสมอ มีรูปร่าง สี ขนาด ใกล้เคียงกัน ผลผลิตไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงสะอาดและดูน่ารับประทาน การปลูกพืชวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะที่จะผลิตพืชผักที่ต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพและความสม่ำเสมอ เช่น ผักส่งออก ผักทดแทนการนำเข้า และผักส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต 6. ใช้แรงงานน้อยลง การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จะใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องมาจากไม่ต้องมีการเตรียมดิน ไม่ต้องทำการเขตกรรม เช่น ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช มีศัตรูพืชน้อยกว่า จึงใช้แรงงานในการกำจัดน้อยกว่า การเพาะเมล็ด การย้ายปลูก การเตรียมแปลงปลูก และการเก็บเกี่ยว ทำได้ง่ายกว่า จึงใช้แรงงานน้อยกว่า 7. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมศัตรูพืชได้ง่าย เพราะการไม่ใช้ดินในการปลูกพืช ทำให้ไม่มีปัญหาโรคแมลงที่อยู่ในดินตลอดจนไม่มีปัญหาวัชพืช ส่วนโรคแมลงที่ระบาดทางอากาศก็สามารถลดการใช้สารเคมีได้โดยการใช้โรงเรือนตาข่าย 8. ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชและมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การที่สามารถปลูกพืชได้ตลอดไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถควบคุมราคาได้โดยไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล
ข้อจำกัดของการปลูกผักไฮโดร (Hydroponics)
ข้อจำกัด คือ ลงทุนสูงในระยะแรก และต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชในระบบนี้ คือ ไฟฟ้า น้ำ และธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมีอย่างไรก็ตาม การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับปลูกผักอนามัย และวิธีการปลูก วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้สะดวกและทันสมัยมากขึ้น ตลาดของผักอนามัยในปัจจุบัน เริ่มมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น การวางจำหน่ายผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ ปัจจุบันจะบรรจุถุงทั้งต้น โดยไม่ตัดรากและบางรายภาชนะปลูกที่ใช้พยุงต้นซึ่งเป็นกระถางพลาสติกโปร่ง ขนาดเล็กๆ ยังมีติดที่โคนต้นเป็นการยืนยันว่าเป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์จริง ๆ ปราศจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแน่นอน
เริ่มต้นการปลูกผัก Hydro
การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกพืชในน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ หรือการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช ทดแทนการปลูกพืชในดินที่เราใช้ในการปลูกพืชในการเกษตรทั่วไป
คำว่า ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) เป็นคำผสมระหว่างคำ 3 คำ คือ
ไฮโดร (hydro) หมายถึงน้ำ
โปโนส (ponos) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก หมายถึงการทำงาน และ
อิกส์ (ics) หมายถึงศาสตร์หรือศิลปะ
ซึ่งเมื่อรวมคำทั้ง 3 คำเข้าด้วยกันจึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า ศาสตร์หรือศิลปะว่าด้วยการทำงานของน้ำ
ปัจจุบัน การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มีเทคนิคที่คิดค้นใหม่ๆหลากหลายรูปแบบ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการปลูกพืชในน้ำ (water culture) เท่านั้น บางกรณีมีการใช้วัสดุปลูก (substrate) ทดแทนดินทั้งหมดและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งเรามักเรียกว่า ซับส์เทรต คัลเจอร์ (substrate culture) หรือมีเดีย คัลเจอร์ (media culture) หรือแอกกรีเกตไฮโดรโปนิกส์ (aggregate hydroponics) เทคนิคดังกล่าวนิยมเรียกว่า การปลูกโดยไม่ใช้ดิน หรือการปลูกพืชไร้ดิน (soilless culture) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเทคนิคการปลูกพืชในน้ำก็ดี หรือการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์รูปแบบอื่นๆก็ดี บางครั้งอาจเรียกรวมๆว่า soilless culture แทนคำว่า hydroponics ก็ได้