วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

กรีนคอส (Green Cos)

ผักที่นิยมปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์ชนิดหนึ่งคือ กรีนคอส (Green Cos)




ลักษณะ
ลำต้นสูง 20 - 30 ซ.ม. เป็นพืชล้มลุก กาบใบด้านนอกห่อซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ ก้านใบกรอบ ใบห่อตั้งขึ้น เขียวเข้ม เนื้อใบหนา มีเส้นใบนูนเด่น มีทั้งพันธุ์ใบสีเขียว และใบสีแดง
คุณค่าทางโภชนาการ
ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง เป็นผักที่ใช้ทำซีซาร์สลัดได้อร่อยมาก

ฟิลเล่ซ์ไอส์เบิร์ก (Frillice Iceberg)

ผักที่นิยมปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์ชนิดหนึ่งคือ ฟิลเล่ซ์ไอส์เบิร์ก (Frillice Iceberg)




ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก ใบมีสีเขียว
ทรงพุ่มใหญ่สวยงาม ขอบใบหยัก
ห่อคล้ายลูกกลม คล้ายกะหล่ำปลีหัว กาบใบห่อเข้าหากันเป็นชั้น ๆ ห่อหัว
เมื่ออากาศเย็นปลายใบหยิกเป็นฝอย ใบแข็งกรอบ ฉ่ำน้ำ
รสชาดหวานกรอบ


คุณค่าทางโภชนาการ

ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ป้องกันโรคหวัด เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

เรดคอรัล (Red Coral)

ผักที่นิยมปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์ชนิดหนึ่งคือ เรดคอรัล (Red Coral)





ลักษณะ
รูปร่างคล้าย Red Oak ใบมีสีแดงอมเขียว ใบหยักสวยงาม หวานกรอบ
พืชล้มลุก ไม่ห่อหัว ก้านใบสีเขียวคล้ำ ช่วงกลางถึงปลายใบ มีสีแดงอมม่วง ใบซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ปลายใบหยิกเป็นคลื่น
คุณค่าทางโภชนาการ
ช่วยสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหารสูง ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง มีวิตามินซีสูง
ย่อยง่าย

บัตเตอร์เฮด (Butter Head)

ผักที่นิยมปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์ชนิดหนึ่งคือ บัตเตอร์เฮด (butter head)


มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa L.
ลักษณะทั่วไป ผักกาดหอม บัตเตอร์เฮด ใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อมกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบหลวมๆ
รสชาดหวานกรอบ ไม่ขม ทำอาหารได้หลายชนิด




ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
บัตเตอร์เฮด เป็นพืชผักที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด รับประทานเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกต่างๆ ห่อเมี่ยงคำ เนื้อย่าง และยำต่างๆ หรือนำมตกแต่งในจานอาหาร
บัตเตอร์เฮด มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรค โลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

เรดโอ๊ค (Red Oak)

ผักที่นิยมปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์ชนิดหนึ่งคือ เรดโอ๊ค (Red Oak)

Red Oak เรดโค๊ค : ลักษณะเป็นผักใบสีแดงเข้มและเขียวเข้ม
ใบซ้อนกันเป็นชั้นปลายใยหยิกแยกเป็นแฉก เป็นพุ่มหยักสีสวยงาม
คุณค่าทางโภชนาการ
มีกากใยอาหารมากมาย ย่อยง่าย บำรุงสายตา กล้ามเนื้อ
ป้องกันโรคปากนกกระจอก ล้างผนังลำไส้ กำจัดพวกไขมัน
มีธาตุเหล็ก และวิตตามินC สูง

กรีนโอ๊ค (green oak)

ผักที่นิยมปลูกแบบ ไฮโดรโปนิกส์ชนิดหนึ่งคือ Green oak (กรีน-โอค)




Green oak [กรีน-โอค]
ผักกรีนโอ๊ค ลักษณะเป็นผักใบเขียวที่นิยมนำมาทำสลัดผัก นิยมปลูกแบบผักไฮรโดรโปนิกส์ (ไฮโดรโพนิกส์)นิยมทานสด, นำไปตกแต่งจาน หรือนำไปแนมกับอาหารต่างๆได้การปลุกผักกรีนโอ๊คแบบผักไฮรโดรโปนิกส์ (ไฮโดรโพนิกส์, ปลูกแบบไร้ดิน)ใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 40 วัน สูตรอาหารที่ใช้ผักกรีนโอ๊ค เช่น สลักผัก, เมี่ยงเป็ด, พล่าปลาแซลม่อน, ผักสลัดราดน้ำสลัดแบบข้น
-------------------------------------------------------------------------------------

ราคาผักไฮโดรโปนิกส์ โดยประมาณ

ราคาผักไฮโดรโปนิกส์ โดยประมาณ




ราคาผักไฮโดรโปนิกส์ โดยประมาณ

ชนิดของผัก ราคา(บาท/กิโลกรัม)
กรีนโอ๊ค :: 100
เรดโอ๊ค :: 100
มิซูน่า :: 100
กรีนคอส (โรเมน คอส) :: 100
บัตเตอร์เฮด :: 90
บัตตาเวีย :: 90

ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

........................................................................................................................................................................



ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

1. การเตรียมพื้นที่และโต๊ะปลูก ประกอบโต๊ะปลูกและติดตั้งตามวิธีการประกอบชุดไฮโดรโปนิกส์ และนำโต๊ะปลูกมาวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง/วัน
2. พันธุ์และเมล็ดพันธุ์ผัก เมล็ดพันธุ์ผักมี 2 ชนิดคือ
2.1 เคลือบดินเหนียว เนื่องจากเมล็ดผักมีขนาดเล็ก ทำให้เป็นอันตรายและสูญเสียได้ง่าย จึงมีการเคลือบเมล็ดด้วยดินเหนียว เมล็ดที่เคลือบจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น เนื่องจากได้มีการกระตุ้นการงอกมาแล้ว แต่จะสะดวกสำหรับการใช้งาน
2.2 ไม่เคลือบ คือเมล็ดพันธุ์ปกติ* ลักษณะพันธุ์ผักสลัด
* การนำผักไฮโดรโปนิกส์มาปรุงอาหาร -->
3. การเพาะต้นกล้า นำวัสดุปลูก เช่น เพอร์ไลท์ เวอร์มิคูไลท์ ใส่ถ้วยเพาะและนำเมล็ดผักใส่ตรงกลางถ้วย กลบเมล็ดและรดน้ำให้เปียกและเก็บไว้ในที่ปลอดภัย รดน้ำทุกวัน ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดเริ่มงอก และเริ่มให้สารละลายอ่อนๆ แทนน้ำ
4. การปลูกบนราง ขนาด 1.5 เมตร
4.1 ตัวอย่างเติมน้ำ 10 ลิตร และเติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 100 ซีซี หรือ 10 ซีซี/น้ำ 1 ลิตร
4.2 นำต้นกล้าที่แข็งแรง อายุประมาณ 2 สัปดาห์ ย้ายมาวางบนโต๊ะปลูก และเดินเครื่องปั๊มน้ำ
5. การดูแลประจำวัน
5.1 รักษาระดับน้ำให้อยู่ในระดับควบคุมอยู่เสมอ เช่น 10 ลิตร
5.2 ควบคุมค่า EC อยู่ระหว่าง 1-1.8 โดยเครื่อง EC meter ปรับลดโดยการเพิ่มน้ำ และปรับค่า EC เพิ่มโดยการเพิ่มปุ๋ย กรณีไม่มีเครื่องวัดสามารถประมาณการเติมสารอาหาร A และ B ดังตาราง
5.3 ควบคุมค่า pH อยู่ระหว่าง 5.2-6.8 โดยเครื่อง pH meter หรือ pH Drop test ปรับลดโดยการกรดฟอสฟอริก หรือกรดไนตริก (pH down) และปรับค่า pH เพิ่มโดยการเติมโปตัสเซียมไฮดรอกไซด์ (pH up) ปริมาณ 2-3 หยด
6. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 45 วัน

ความเป็นมาของผักไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทย


ความเป็นมาของผักไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทย (Hydroponic in Thailand)
ผักไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในราวต้นปี 2543 และเริ่มมีการเพาะปลูกกันอย่างกว้างขวางแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในตลาดมากนัก จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่ปี 2545 รัฐบาลเริ่มให้ความสนใจต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและได้มีการกระจายข่าวตามสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งประชาชนเริ่มให้ความสนใจต่อสุขภาพและเริ่มรู้จักผักไฮโดรโปนิกส์มากขึ้น ทำให้ตลาดไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)


ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
การปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการปลูกพืชโดยใช้หลักวิชาการแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดยการเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน แต่ไม่นำดินมาใช้เป็นวัสดุปลูก พืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยอาศัยธาตุอาหารต่างๆ ที่ละลายลงในน้ำเพื่อทดแทนธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น 1. สามารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องตลอดปี เมื่อเก็บผลผลิตผักแล้วสามารถปลูกพืชผักรุ่นต่อไปได้ทันที เนื่องจากไม่ได้ปลูกพืชลงดินจึงไม่ต้องทิ้งระยะเวลาเพื่อทำการพักดิน ตากดิน กำจัดวัชพืช และเตรียมแปลงปลูกใหม่ การปลูกพืชในดินต่อเนื่องเป็นเวลานานยังทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถปลูกพืชต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหานี้ เนื่องจากแหล่งอาหารของพืชไม่ได้มาจากดิน แต่มาจากธาตุอาหารต่างๆ ที่ให้ทางสารละลายธาตุอาหาร นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ไม่ขึ้นกับฤดูกาล เพราะมีการควบคุมสภาพแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี 2. สามารถปลูกพืชได้แม้ในที่ที่ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช การอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งที่ดินมีราคาแพง ผู้อยู่อาศัยในที่ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด และหอพัก ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช สามารถปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพร หรือไม้ดอกไม้ประดับ ได้โดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กวางบริเวณพื้นที่ว่างที่มีอยู่เล็กน้อย เช่น ริมหน้าต่าง ทางเดิน ดาดฟ้า พื้นที่เล็กๆ หลังบ้าน 3. สามารถปลูกพืชในที่ที่ดินไม่เหมาะสม ในบางพื้นที่มีพื้นที่อยู่มากมาย แต่ใช้ทำการเพาะปลูกพืชไม่ได้ เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินทะเลทราย พื้นที่ที่เป็นหิน พื้นที่ภูเขา ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง พื้นที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำชลประทาน การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และใช้งบประมาณมาก สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่ปลูกพืชได้ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เพราะนอกจากไม่ต้องใช้ดินเป็นแหล่งอาหารสำหรับพืชแล้ว ยังเป็นวิธีที่ใช้น้ำน้อยและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชไม่มีปัญหาขาดน้ำ ไม่มีการสูญเสียน้ำจากการซึมลึก การไหลทิ้ง หรือการแย่งน้ำจากวัชพืช ไม่มีปัญหาการให้น้ำมากเกินไป 4. พืชเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูง การปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม ไม่สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชได้ นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียธาตุอาหารจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในดินและในอากาศ ตลอดจนการแย่งธาตุอาหารจากวัชพืช แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ สามารถควบคุมปริมาณสารอาหารได้ดีกว่าการปลูกในดิน สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้ตรงกับความต้องการของพืช พืชได้รับสารอาหารในรูปอนินทรีย์โดยตรง ทำให้การใช้ปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาการแย่งธาตุอาหารโดยวัชพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตเร็วและได้ผลผลิตสูง ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าคำนึงถึงผลผลิตต่อปี ผลผลิตจากการผลิตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ก็จะสูงกว่าการปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องจากการเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นและปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปีไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถปลูกพืชได้มากครั้งกว่าในเวลาเท่ากัน 5. ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ สะอาดและคุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารตามที่พืชต้องการตลอดจนควบคุมปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมได้ทั่วถึง ทำให้ได้ผลผลิตที่มีความสม่ำเสมอ มีรูปร่าง สี ขนาด ใกล้เคียงกัน ผลผลิตไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงสะอาดและดูน่ารับประทาน การปลูกพืชวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะที่จะผลิตพืชผักที่ต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพและความสม่ำเสมอ เช่น ผักส่งออก ผักทดแทนการนำเข้า และผักส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต 6. ใช้แรงงานน้อยลง การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จะใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องมาจากไม่ต้องมีการเตรียมดิน ไม่ต้องทำการเขตกรรม เช่น ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช มีศัตรูพืชน้อยกว่า จึงใช้แรงงานในการกำจัดน้อยกว่า การเพาะเมล็ด การย้ายปลูก การเตรียมแปลงปลูก และการเก็บเกี่ยว ทำได้ง่ายกว่า จึงใช้แรงงานน้อยกว่า 7. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมศัตรูพืชได้ง่าย เพราะการไม่ใช้ดินในการปลูกพืช ทำให้ไม่มีปัญหาโรคแมลงที่อยู่ในดินตลอดจนไม่มีปัญหาวัชพืช ส่วนโรคแมลงที่ระบาดทางอากาศก็สามารถลดการใช้สารเคมีได้โดยการใช้โรงเรือนตาข่าย 8. ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชและมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การที่สามารถปลูกพืชได้ตลอดไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถควบคุมราคาได้โดยไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล

ข้อจำกัดของการปลูกผักไฮโดร (Hydroponics)

ข้อจำกัดของการปลูกผักไฮโดร (Hydroponics)
ข้อจำกัด คือ ลงทุนสูงในระยะแรก และต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชในระบบนี้ คือ ไฟฟ้า น้ำ และธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมีอย่างไรก็ตาม การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับปลูกผักอนามัย และวิธีการปลูก วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้สะดวกและทันสมัยมากขึ้น ตลาดของผักอนามัยในปัจจุบัน เริ่มมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น การวางจำหน่ายผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ ปัจจุบันจะบรรจุถุงทั้งต้น โดยไม่ตัดรากและบางรายภาชนะปลูกที่ใช้พยุงต้นซึ่งเป็นกระถางพลาสติกโปร่ง ขนาดเล็กๆ ยังมีติดที่โคนต้นเป็นการยืนยันว่าเป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์จริง ๆ ปราศจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแน่นอน

เริ่มต้นการปลูกผัก Hydro




Hydroponics คืออะไร หลายคนที่เพิ่งเริ่มศึกษาคงมีคำถามว่าที่จิง Hydroponics มันคืออะไรกันแน่
การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกพืชในน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ หรือการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช ทดแทนการปลูกพืชในดินที่เราใช้ในการปลูกพืชในการเกษตรทั่วไป
คำว่า ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) เป็นคำผสมระหว่างคำ 3 คำ คือ
ไฮโดร (hydro) หมายถึงน้ำ
โปโนส (ponos) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก หมายถึงการทำงาน และ
อิกส์ (ics) หมายถึงศาสตร์หรือศิลปะ

ซึ่งเมื่อรวมคำทั้ง 3 คำเข้าด้วยกันจึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า ศาสตร์หรือศิลปะว่าด้วยการทำงานของน้ำ

ปัจจุบัน การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มีเทคนิคที่คิดค้นใหม่ๆหลากหลายรูปแบบ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการปลูกพืชในน้ำ (water culture) เท่านั้น บางกรณีมีการใช้วัสดุปลูก (substrate) ทดแทนดินทั้งหมดและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งเรามักเรียกว่า ซับส์เทรต คัลเจอร์ (substrate culture) หรือมีเดีย คัลเจอร์ (media culture) หรือแอกกรีเกตไฮโดรโปนิกส์ (aggregate hydroponics) เทคนิคดังกล่าวนิยมเรียกว่า การปลูกโดยไม่ใช้ดิน หรือการปลูกพืชไร้ดิน (soilless culture) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเทคนิคการปลูกพืชในน้ำก็ดี หรือการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์รูปแบบอื่นๆก็ดี บางครั้งอาจเรียกรวมๆว่า soilless culture แทนคำว่า hydroponics ก็ได้